วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

                         ก่อนอื่นแนะนำตัวพวกเราก่อนนะค้าา (:


                                     ชื่อ นางสาวมนัญญา  ประดิษฐ์   ม.4/4    เลขที่ 25
                                     
                                           คนนี้มีนามเล็กๆ >,< ว่า " แคทตี้ "





                                 ชื่อ นางสาวขวัญวรา  นพพันธ์    ม.4/4   เลขที่ 22

                                          คนนี้มีนามเล็กๆ >,<' ว่า " ขวัญเรียม "




                                  ชื่อ นางสาวชนม์นิภา  เชิดฉิง     ม.4/4   เลขที่ 43

                                              คนนี้มีนามเล็กๆ >,<' ว่า " เทดดี้เวียร์ " 





ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน






สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

การขยายตัวของอาเซียน

 
            ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์[9] และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว[10]
ต่อมา เวียดนาม ในเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[11] ไม่นานหลังจากนั้นลาวและพม่า ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[12]ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนเวลาออกไปเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ ภายหลังจากรัฐบาลของประเทศมีความมั่นคงแล้ว[12][13]
ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้[14] โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในกลุ่มเอเปคและภูมิภาคเอเชียโดยรวม[15][16] แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา[15][17] แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้ ในปี พ.ศ. 2535 การใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันได้รับการลงนาม เนื่องจากจุดประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้[18]
นอกเหนือจากความร่วมมือในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว กลุ่มสมาคมอาเซียนยังได้มีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการลงนาม เพื่อให้ภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในพื้นที่[19]

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 21

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[20] แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปีพ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก[21] เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549[22] และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษBali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการของประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในพื้นที่ นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่ไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรจะใฝ่หา[23]
ผู้นำของแต่ละประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย มีความรู้สึกถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 สมาคมอาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วย การประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[24] ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน[25] นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์[26][27]
ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา[28] ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558[29][30] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และในปีเดียวกันนั้น ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[31][32] นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

flag-brunei-darussalam

เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn

flag-cambodia

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh

flag-indonesia

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

flag-lao_pdr

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la

flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

flag-myanmar

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm

flag-philippines

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph

flag_singapore

สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

flag-thailand

ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th

flag-vietnam

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn


เริ่มที่บรูไนก่อน ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมันแห่งเอเชีย การแต่งตัวค่อนข้างผสมกันระหว่างมาเลย์กับจีน 


 ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการาบรูไนดารุสซาลาม
ดอกซิมปอร์ อาจจะไม่เคยได้ยินกัน เพราะเป็นดอกไม้ในท้องถื่นครับ

กัมพูชา หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า "เขมร" ประเทศเพื่อนบ้านของไทย เนื่องจากไม่ได้ใส่ชื่อภาษาท้องถิ่นไว้ งั้นขอพิมพ์เพิ่มเอง
Preăh Réachéanachâkr Kâmpŭchea - เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
ดอกลำดวน อาจจะเคยได้ยินชื่อกันนะครับ

อินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียส่วนมากเป็นชาวเกาะครับ
เป็นประเทศที่มีเกาะมากถึง 30,000 กว่าเกาะ ซึ่งทุกวันนี้ยังค้นพบได้เรื่อยๆ
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย 
ดอกกล้วยไม้ราตรี

ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด
ภาษา วัฒนธรรม และชุดประจำชาติค่อนข้างคล้ายภาคอีสานของไทยครับ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
ดอกจำปาลาว หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าดอกลีลาวดี หรือชื่อเก่า ลั่นทม คงรู้จักกันดีครับ 

มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิมครับ
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
ดอกชบา ตอนนี้เหลือต้นเดียวที่บ้านครับ ไม่ได้เห็นดอกนานมากแล้ว

พม่า เพื่อนบ้านทีน่ารัก(?) ของเราอีกประเทศ 
ชุดคล้ายๆทางภาคเหนือของไทย มีวัฒนธรรมและชุดประจำชาติค่อนข้างคล้ายกันครับ (ล้านนา) 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
ดอกประดู่ หลายๆคนอาจรู้จักนะครับ

ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า
"ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย"
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
ดอกไม้ประจำชาติคือดอกพุดแก้วครับ

สิงคโปร์ ดูเป็นชุดจีนมาก
เพราะประชากรส่วนมากของสิงคโปร์เป็นชาวจีน ส่วนที่เหลือก็มีชาวชวา มาเลย์ อินเดีย และอื่นๆครับ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน - ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า

ชุดประจำชาติไทยก็เป็นที่คุ้นตากันกับ ชาวไทยแลนด์แดนแฮปปี้ของเรา เพราะงั้นคงเดากันไม่ยากนะครับ แต่ก่อนจะเลื่อนลงไปดูรูป ให้คุณผู้อ่านลองเดาดูก่อนดอกไม้ประจำชาติไทยเราคือดอกอะไร ? จะตรงกับที่คิดมั๊ย ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลื่อนลงไปดูได้เลยครับ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ราชอาณาจักรไทย
ดอกราชพฤกษ์ หรือเรียกง่ายๆว่าดอกคูณ เดากันถูกมั๊ยครับ

และส่งท้ายด้วยเวียดนาม เนื่องจากมีพรมแดนติดประเทศจีนและรับวัฒนาธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่มามาก ดังนั้นชุดประจำชาติเวียดนามจะมีเอกลักษณ์คล้ายจีนมากครับ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
ดอกไม้ประจำเวียดนามคือ ดอกบัว นี่เอง
ก็ขอใหเอ็นทรีนี้เป็นเกร็ดความรู้เล็ก น้อยที่นำมาบอกต่อๆกันนะครับ สำหรับใครๆที่ชอบการปลูกต้นไม้ ก็ขอให้ใส่ใจดูแลมันอย่างเต็มที่ ซักวันนึงมันก็จะต้องออกดอกสวยๆมาให้เราเห็นแน่นอนครับ  

             คลิปนี้สามารถให้ความรู้เรื่องธงและชุดประจำชาติของประเทศต่างๆในอาเซียน